Etv

Etv
Etv

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค

การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค หรือที่เรียกว่าการเคลื่อนที่แบบ S.H.M เป็นลักษณะการเคลื่อนที่แบบกลับไปกลับมา เช่นการสั่นของสปริง การแกว่งของชิงช้า หรือลูกตุ้มนาฬิกา เป็นต้น


การเคลื่อนที่แบบ Simple Harmonics Motion จัดว่าเป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เป็นเส้นตรง หรือจัดว่าเป็นการเคลื่อนที่แนวเส้นโค้งแบบหนึ่งโดยการเคลื่อนที่ของอนุภาคเป็นแบบกลับไปกลับมา ซึ่งจะผ่านจุดหลักคงที่จุดหนึ่งเสมอ และจุดหลักนี้เรียกว่า “จุดหรือตําแหน่งสมดุลของการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่แบบ Simple Harmonics Motion



แบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ



1. การเคลื่อนที่ของเงาของอนุภาคที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมบนฉากใน



แนวราบหรือแนวดิ่งก็ได้



2. การเคลื่อนที่ของอนุภาค ( วัตถุ ) ที่ติดสปริง



3. การเคลื่อนที่ของอนุภาค ( วัตถุ ) แบบลูกตุ้มนาฬิกา



เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม (จะเป็นแนวราบหรือแนวดิ่ง) เมื่อพิจารณา เงาของวัตถุบนฉากที่ตั้งฉากกับระนาบการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะพบว่าเงาของวัตถุจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมา รอบจุดคงที่ที่เรียกว่าจุดสมดุล โดยมีข้อตกลงว่าระยะกระจัดต้องวัดออกจากตําแหน่งสมดุล และให้ถือว่าเป็นทิศบวกของVector

สรุป





การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก คือ การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงกลับไปกลับมารอบจุดสมดุลโดยที่ขนาดของความเร่งของอนุภาคจะแปรผันตรงขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงกันข้าม



การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาโมนิค( S.H.M.)



การขจัด (x) = Acos w t



ความเร็ว(v) = - w Asin wt



= - w Ö A2-X2



ความเร่ง(a) = - w2Acoswt



คาบของลูกตุ้มนาฬิกา(T) = 2 pÖ l/g



คาบของมวลติดสปริง(T) = 2 pÖ m/k



ที่มา : http://my1.dek-d.com/arissina_physic/diary/?day=2008-11-23

http://www.rayongwit.ac.th/library/phy/weerasak/wave.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น